สตูดิโอศิลปะด้านใน

สตูดิโอศิลปะด้านใน
สตูดิโอศิลปะด้านในก่อตั้งโดยอนุพันธุ์พฤกษ์พันธ์ขจี (ครูมอส) ผู้บุกเบิกคนแรกๆในการนำศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาเข้ามาในประเทศไทยเป็นจิตรกรและนักศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาผู้เชี่ยวชาญเรื่องสีและการทำงานศิลปะบำบัดที่คืนความสมดุลของกายวิญญาณและจิตวิญญาณของผู้เข้ารับการบำบัด

โทรศัพท์ 093-235-6679

http://www.arttherapythai.com

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ

ชามเริญ สตูดิโอ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยนักออกแบบ 3 คน ได้แก่ คุณธนิตา โยธาวงษ์ คุณณัฐพล วรรณภรณ์ และคุณชาญชัย บริบูรณ์ ที่หลงรักงานเครื่องเคลือบดินเผา พวกเขา เล่าเรื่องราวผ่านงานเซรามิกที่ทุกชิ้นทำจากมือ หนึ่งในนั้นคือ “ปิ่นโต” ผลงานอันเป็นที่รู้จักและ ได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวางรวมถึงรางวัลต่างๆ ได้แก่ รางวัลทรงคุณค่าสำหรับผู้ส่งออกดี เด่นของไทย การันตีจากนายกรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2560 (PM Award 2017) DeMark Award 2017 และ รางวัล G Mark Good Design Award 2017 นอกจากนี้ ยังในส่วนร่วมใน โครงการและงานสำคัญต่างๆ เช่น โครงการเชียงใหม่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ ยูเนสโก และ Chiang Mai Design Week ที่จัดขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2563 ชามเริญ สตูดิโอ ได้มาเปิดสาขาที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ใน ชุมชนอันเป็นที่รู้จักด้านงานผีมือและเซรามิกเพื่อเปิดโอกาสและเป็นพื้นที่ให้ศิลปินและผู้ที่สนใจ ได้มาแบ่งปันไอเดียและความรู้ผ่านเวิร์คชอปและโปรแกรมต่างๆโดยมุ่งหวังให้ชุมชนผู้ชื่นชอบ ในงานเซรามิกได้เติบโต

ปัจจุบันมีผู้สืบทอดและผู้สนใจงานช่างไม่มากนัก โดยเฉพาะงานช่างที่เป็นการสืบสานภูมิปัญญานั้นยิ่งมีน้อยลงไปทุกที เชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีงานพื้นถิ่นมากมาย
มีชุมชนที่สืบสานงานภูมิปัญญาและองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และบางเทคนิคจำกัดเฉพาะคนในตระกูลเท่านั้น อังซา สตูดิโอ นับว่าเป็นหนึ่งในนั้นโดยผู้บริหารสตูดิโอในปัจจุบัน
ได้เรียนรู้เทคนิคงานประดิษฐ์โลหะจากคุณพ่อภูมิปัญญานี้เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ที่มีมานานกว่าห้าพันปีเป็นงานฝีมือ ที่ดัดแปลงโลหะและเส้นลวดสร้างสรรค์ลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม สตูดิโอแห่งนี้จึงเห็นความสำคัญของการสืบทอด และต่อยอดทักษะที่ซับซ้อนและหาได้ยากนี้ โดยปัจจุบันได้นำมาผสมผสานกับการออกแบบเครื่องประดับทั้งแบบ ดั้งเดิมและสมัยใหม่ มีการเปิดบริการพื้นที่สำหรับการเยี่ยมชม การเรียนรู้และการทำเวิร์คช็อปสำหรับผู้สนใจ เพื่อให้ เอกลักษณ์ของงานหัตถกรรมที่ได้รับการสืบทอดมาจากต้นตระกูลได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

สตูดิโอภูวา คือพื้นที่จัดแสดงผลงานการออกแบบร่วมสมัยและศูนย์วิจัย และการออกแบบของอาจาร์ภูวา หรือ ดร. จิรันธนิน กิติกา ที่นอกจากผล งานการออกแบบของเขาแล้วยังเปิดพื้นที่ให้ศิลปินและนักศึกษาได้ลองจัด แสดงผลงานของตนสู่สาธารณะชน โดยแนวคิดของผลงานมักจะเน้นไปที่ ความเป็นพื้นถิ่นของเมืองในปัจจุบัน การทำงานออกแบบเชิงบูรณาการกับ การวิจัยเมืองด้วยความเชื่อที่ว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เทคโนโลยีเทคโนโลยี ทำให้สตูดิโอมุ่งมั่นขับเคลื่อนเมืองผ่านเครือข่ายทาง สังคมและกระบวนที่มีส่วนร่วม ที่ผ่านมาสตูดิโอได้มีส่วนร่วมในเทศกาล Chiang Mai Design Week คอร์สออนไลน์ส่งเสริมการเรียนรู้ในหัวข้อ Digital Disruption และกิจกรรม Street Art Liberation ถ่ายทอด ผ่านแนวคิดศิลปะบนท้องถนน เป็นต้น

ชุมชนวัดเกตเป็นชุมชนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เป็นเวลานานหลายร้อยปี มีผู้คนหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ด้วยกัน อาทิ ชาวจีน ชาวยุโรป และชาวล้านนา วัดเกตการามที่ตั้งอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างจากไม้อายุกว่า 500 ปี ซึ่งวัดนี้เป็นเสมือนศูนย์กลางของชุมชนวัดเกต รอบๆวัดรายล้อมไปด้วยร้านกาแฟทันสมัย แกลเลอรี่ศิลปะ ร้านขอยของแต่งบ้าน และร้านขายของหัตถกรรม

วูว์คาเฟ่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนวัดเกตใกล้กับวัดเกตการามและอยู่ฝั่งตรงข้ามกับแม่น้ำปิงเปิดเมื่อปีพ.ศ. 2557ที่นี่เป็นทั้งร้านกาแฟมีเค๊กของว่างและอาหารฟิวชั่นไทยตะวันตกไว้บริการลูกค้าเสริฟตั้งแต่อาหารเช้าจนถึงมื้อเย็นด้านบนเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงงานทัศนศิลป์แบบเอ็กเพรสชั่นนิสซึ่มงานประติมากรรมแบบนามธรรมและอื่นๆ

สตาร์เวิร์คเป็นออฟฟิศและพื้นที่ทำงานร่วมที่ให้บริการหลายสไตล์ เหมาะกับผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็ก มีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้บริการหลากหลาย ทั้งห้องประชุมขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ระบบอินเทอร์เน็ต เฟอร์นิเจอร์ จอโปรเจ็กเตอร์ รวมไปถึงเครื่องดื่ม นอกจากนี้ บนชั้นห้ายังมีห้องออกกำลังกาย ร้านกาแฟและร้านสะดวกซื้ออีกด้วย

TCDC เชียงใหม่คือ ศูนย์การเรียนรู้ด้านการออกแบบและบ่มเพาะความคิดสร้าง สรรค์ครบวงจรแห่งแรก ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ที่นี่คือแหล่งเรียนรู้เต็มรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ โดยสนับสนุนให้คนเหล่านี้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการที่มีความ แข็งแกร่งในเชิงธุรกิจ และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2526 เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า รวบรวมงานทางด้านศิลปกรรมของภาคเหนือ