โครงการ

รางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ สำหรับดีไซน์เนอร์ล้านนา แพลตฟอร์มที่ยกระดับผลงานด้วยรางวัลอันทรงคุณค่า

ก้าวสู่ปีที่ 10 ของรางวัลออกแบบสร้างสรรค์ ที่ผลงานของนักออกแบบท้องถิ่นปรากฏสู่สายตาสาธารณชน สร้างความประจักษ์แห่งล้านนา ย้ำเตือนเอกลักษณ์ของขนบ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ผสานแนวความคิดสร้างสรรค์และเชิงนวัตกรรมในปัจจุบัน การันตีด้วยสัญลักษณ์อันทรงคุณค่ากับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ หรือ Creative Design Awards

นับเป็นหนึ่งในรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของเหล่าดีไซน์เนอร์ และบุคคลทั่วไปที่มีความสามารถในการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวจากท้องถิ่นสู่วงกว้าง ด้วยการสนับสนุนจากล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna) เชียงใหม่สร้างสรรค์ (Creative Chiang Mai) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) และอีกหลากหลายหน่วยงานพันธมิตร

salahmade

“salahmade​” นำเสนอเรื่องราวอันน่าสนใจของสินค้าหัตถอุตสาหกรรม ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและมีคุณภาพของจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง “สล่า” เป็นภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่แปลว่า “ช่างฝีมือ” ด้วยความเชื่อที่ว่า การรับรู้เรื่องราวของผลิตภัณฑ์สร้างคุณค่าและความประทับใจต่อผู้ซื้อ ทำให้การคัดเลือกและถ่ายทอดเรื่องราวของสินค้าแต่ละชิ้นเป็นหัวใจหลักของเว็บไซต์ “สล่าเมด”

งานหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน รวมถึงเพื่อใช้ในกิจกรรมทางศาสนา และอื่น ๆ มานานนับร้อยปี ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ การเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา ศาสนาและการค้าในภาคเหนือ ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรเพื่อใช้สำหรับงานหัตถกรรม ทำให้จังหวัดเชียงใหม่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ทั้งยังได้รับสถานะการเป็น “เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน” จาก UNESCO อีกด้วย

TEDxChiangMai

TEDxChiangMai เป็นกิจกรรมอิสระหนึ่งของ TEDx ซึ่งดำเนินงานภายใต้ผู้ถือใบอนุญาตจาก TED อย่างไรก็ตาม TEDxChiangMai เป็นมากกว่างานที่จัดโดยทั่วไป เพราะใช้แนวคิดการเผยแพร่ความคิด บทสนทนา การรับรู้ที่ผ่านมา และเป็นชุมชนของผู้คนที่เชื่อมั่นในความคิด ความสร้างสรรค์ นวัตกรรม และความร่วมมือ ในเดือนกันยายนของทุกปี TEDxChiangMai เป็นการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นสร้างสรรค์นานาชาติในเชียงใหม่ (ปี 2556 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 500 คน) นอกจากนี้ยังมีการจัดงาน TEDxChiangMaiSalon และ TEDxChiangMaiLive ตลอดทั้งปี โดยได้รับการสนับสนุนหลักจากเชียงใหม่สร้างสรรค์และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Good Aging in Place

เว็บไซต์นี้ที่รวบรวม ข้อมูล เครื่องมือ และแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินระดับสูงเพื่อแสดงให้เห็นถึงเหตุผลและแนวทางในการปรับปรุงบ้านให้พร้อมในการอยู่อาศัยเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือพร้อมอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ คุณสามารถใช้แบบฟอร์มเพื่อทำการประเมินด้วยตนเองได้ แต่เราแนะนำให้ทำการประเมินร่วมกับบุคคลอื่น เช่น คู่สมรส สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ดูแล สำหรับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินโดยนักกายภาพบำบัดหรือนักกิจกรรมบำบัด หรือแพทย์ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมแนวปฏิบัติในแบบฟอร์ม ซึ่งผู้ให้บริการบางรายอาจมีการเสนอบริการพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ เราแนะนำให้ศึกษาว่าบริการเหล่านั้นมีนักกายภาพบำบัดหรือนักกิจกรรมบำบัดสำหรับให้บริการเสริมหรือการบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางหรือไม่ เมื่อเข้าใจแนวทางในการปรับปรุงและความเป็นไปได้แล้ว คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของเราซึ่งมีแบบฟอร์มและคู่มือเกี่ยวกับการปรับปรุงที่พักอาศัยจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ทำไมต้องเป็น “Good Aging In Place” ? เนื่องจากประชากรวัยก่อนเกษียณจำนวนมากต้องการอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว และการเพิ่มจำนวนของครัวเรือนที่มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นหรือครัวเรือนที่มีสมาชิกอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ถึงแม้จะอยากอาศัยอยู่ที่บ้านต่อไปเมื่อสูงวัยขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วครอบครัวที่มีผู้สูงอายุยังไม่มีการเตรียมความพร้อมของที่พักอาศัยเพื่อรองรับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งการเตรียมการล่วงหน้านี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสามารถตอบสนองการใช้งานได้มากกว่า ปลอดภัยมากขึ้น และสามารถดำรงชีวิตได้สะดวกยิ่งขึ้น